[TH] Scrum Guide 2020: 7 สิ่งน่าสนใจ ที่อัพเดตจากเวอร์ชั่นก่อนๆ

Bo Wanvisa Eamsiri
3 min readJan 20, 2022

--

Scrum Guide คือคู่มืออธิบายการใช้ Scrum Framework จาก scrum.org ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรอันดับต้นๆที่ช่วยพัฒนาสกรัมมามากกว่า 25 ปี และด้วยคอนเซ็ปของEmpiricism(fact-based, experience-based, and evidence-based)ที่เป็นต้นทฤษฏีของScrum Guideนั้น ทางองค์กรมีการแนะนำและอัพเดตการใช้งานอยู่เรื่อยๆ จากfeedbackและresultจากการใช้สกรัม เพื่อปรับการใช้งานของสกรัมให้ทั่วถึงและมีคุณค่ามากขึ้นต่อผู้นำไปใช้

ในเดือนพฤจิกายน ปี2020 ทางscrum.orgได้มีการอัพเดตScrum Guide ซึ่งมีหลายๆจุดเลยที่น่าสนใจ ซึ่งหลายๆคนที่เคยศึกษาScrum Guideในปีก่อนหน้า อาจจะยังไม่ได้กลับมาอ่านเวอร์ชั่นใหม่ วันนี้โบเลยจะมาสรุปให้ฟังว่า มันมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไปบ้างค่ะ

จากตอนแรกที่Scrum Guideมีประมาณ 19หน้า (เวอร์ชั่น2017) ตอนนี้มันเหลือ 13 หน้าเท่านั้น!!(เวอร์ชั่น2020) โดยมีหลายๆkeywordsที่ถูกsimplify บางprocessที่ถูกอัพเดตให้มีความprescriptiveน้อยลงมากๆ เพื่อการใช้งานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

วันนี้ที่สรุปมา มีทั้งหมด 7 อย่าง

  1. ไม่มี 3 คำถาม ในdaily scrum อีกต่อไป
  2. ไม่มี “development team” แล้ว
  3. ต้องมี “Product Goal”
  4. เพิ่ม 3 ข้อยึดมั่น (3 Commitments)
  5. Scrum Team ต้องมีความเป็น “Self-Managing” แทน “Self-Organizing”
  6. 3 คำถามใหม่ที่ต้องตอบใน “Sprint Planning”
  7. Scrum Master ไม่ใช่ Servant Leader แล้วนะ แต่เป็น True Leader Who Serves ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

คำอธิบายตามด้านล่าง

1.ไม่มี 3 คำถาม ในdaily scrum อีกต่อไป

จากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า scrum guide 2017 มีการให้ ”development team” มีการทำdaily scrum โดยมีบอกชัดเจนว่า จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 15นาที และแนะนำให้อัพเดตว่า เมื่อวานทำอะไร, วันนี้จะทำอะไร และตอนนี้มีอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

ในคู่มือสกรัมปีแรกๆ มีการ”บังคับ”ชัดเจน ว่าในdaily scrumต้องตอบสามคำถามนี้ ในปี2017 มันถูกปรับมาเป็นแค่คำแนะนำให้ใช้ และใน2020นี้ มันถูกตัดออกไปจากscrum guideโดยสิ้นเชิง เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละทีมคิดคำถามและเทคนิคอื่นๆที่อาจจะเหมาะมากกว่า (แต่ทีมไหนจะยังอยากใช้ ก็ยังเป็นคำถามที่ดีค่ะ)

2.ไม่มี “development team” แล้ว

อ่าวววว ไม่มีคำว่าทีมพัฒนาแล้ว?! ในการอัพเดตครั้งนี้ คู่มือสกรัมได้แทนการเรียก “Development Team” (ทีมพัฒนา) เป็น “Developers” (นักพัฒนาทุกคน)โดยสิ้นเชิง เหตุผลที่ทำแบบนี้ ก็เพื่อที่จะนำความรู้สึกของการมีsub-team ใน Scrum Teamออก ทุบกำแพงและลดhierarchyระหว่างproduct ownerและdevelopment team ให้ผู้ใช้สกรัมเข้าใจว่า ทุกคนในScrum Teamคือทีมเดียวกัน และมีจุดประสงค์ในการทำงานร่วมกัน ซึ่งนั่นก็คือการbest achieve product goals ซึ่งสื่อชัดเจนให้เข้าใจว่าการทำproductที่ดีออกมา ไม่ใช่ความรับผิดชอบของProduct Ownerแต่เพียงผู้เดียว และdevelopersนั้น ไม่ได้มีหน้าที่ทำงานตามคำสั่งของproduct owner แต่คือการช่วยกันคิดและทำ ฉะนั้นต่อจากนี้ในScrum Teamเราจะมี Product Owner, Scrum Master และ Developers

Gentle reminder: คำว่า “Developers” ใช้เรียกนักพัฒนาทุกคนที่อยู่ในทีมสกรัมและช่วยทำงานให้สำเร็จตามgoal ถูกเลือกใช้เพื่อให้เรียกคนเหล่านี้อย่างเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ใช่เพื่อแบ่งแยกใครออกจากทีม

3. ต้องมี “Product Goal”

ในปีก่อนๆเราจะได้เห็นคำว่า Sprint Goal บ่อยมาก ซึ่ง Sprint Goal นั้นหมายถึงการกำหนดเป้าหมายของสิ่งที่เรากำลังพัฒนาในSprintนั้นๆ ในครั้งนี้Scrum Guideมีการเพิ่มคำว่า Product Goal เข้ามา โดยอธิบายความหมายว่า

Product Goal มีไว้สำหรับ Product Backlog

Sprint Goal มีไว้สำหรับ Sprint Backlog

การเพิ่มproduct goal ทำเพื่อ:

-ให้ทีมสกรัมเห็นภาพแนวทางproductที่เรากำลังจะไปได้ชัดเจนขึ้น ให้ไม่ใช้สกรัมไปวันๆโดยไม่คำนึงหรือเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของproductที่กำลังพัฒนา

-ให้เราสามารถสร้างของในproduct backlogที่ส่งเสริมความสำเร็จของproduct

-ให้การมี Review, Planning, Retrospectiveที่คำนึงถึงจุดมุ่งหมายของproductและไม่ออกนอกไปเรื่องที่ไม่จำเป็น

-และที่สำคัญที่สุดเลย คือมีไว้เพื่อให้เรารู้จักsay no to multiple goals at a time ให้รู้จักการสร้างเป้าหมายเดียวที่ชัดเจน ณ เวลานั้นๆ โดยเป็นการโปรโมทFocusและการset product directionที่ดีเลยทีเดียว

Product Goalเป็นความรับผิดชอบของใคร?

Product Owner มีความรับผิดชอบต่อProduct Goal ในทางเดียวกันกับที่มีต่อProduct Backlog ซึ่งก็คือมีหน้าที่พัฒนาและสื่อสาร Product Goal ออกมาให้ชัดเจน

4. เพิ่ม 3 ข้อยึดมั่น (3 Commitments)

ในคู่มือสกรัมเราจะรู้กันดีว่า Scrum Values มี5อย่าง คือ Commitment, Openness, Courage, Respect และFocus โดยในปีก่อนๆนั้น ไม่ได้มีการพูดถึงcommitmentนอกเหนือจากการที่มันเป็นส่วนหนึ่งของ Scrum Values เลยซึ่งในการอัพเดตครั้งนี้ Scrum Guideได้มีการเพิ่มcommitment 3อย่าง เพื่อให้ผู้ใช้เห็นภาพข้อดีและผลของcommitment ต่อสิ่งอื่นๆในสกรัมได้ชัดเจนขึ้น

3 commitments ที่เพิ่มความหมายเข้ามา คือเพิ่มเข้ามาเชื่อมโยงกับScrum Artifacts ซึ่งคือประเด็นต่อไปนี้

  • “Product goal is the commitment for the product backlog.”
  • “Sprint goal is the commitment for the sprint backlog.”
  • “Definition of done is the commitment for the increment.”

สามความมุ่งมั่นที่กำหนดมานี้นั้น หากscrum teamยึดทำตามความมุ่งมั่นเหล่านี้ มันจะส่งเสริม transparency and focus ปรับเพื่อให้ความเป็น Agile มันดีมากขึ้น

Gentle Reminder: Scrum Artifactsคือตัวแทนการโชว์ work และ valueของงาน

5. Scrum Team ต้องมีความเป็น “Self-Managing” แทน “Self-Organizing”

สองคำนี้เมื่อแปลเป็นไทยจะความหมายเหมือนการเลยคือ ความสามารถในการจัดการตัวเองได้ สิ่งที่scrum.org ต้องการจะสื่อถึงเรื่องนี้ คือคำว่าSelf-managementที่มาทดแทนนั้น มีความหมายหมายถึงการบริหารจัดการภายในทีมที่มีautonomyสูง เป็นการจัดการตัวเองในระดับที่พัฒนาขึ้นมาจากself-organisation

เทียบให้เห็นภาพชัดๆเลยคือ Self-Management มันไม่ได้หมายถึงแค่ความสามารถในการกำหนดway of workingกันเองภายในทีมอย่างเดียว มันหมายถึงการรู้จักหน้าที่ว่าตัวเองต้องทำอะไร ทำยังไง และทำเมื่อไหร่ โดยไม่ต้องรอคำสั่งหรือการจัดการ การขับเคลื่อนงานได้แบบไม่ต้องมีหัวหน้า เพราะทุกคนเข้าใจsprint goal และรู้ว่าsprint backlogมีอะไร สามารถจับมือพากันทำให้งานสำเร็จตามแพลนได้

6. 3 คำถามใหม่ที่ต้องตอบใน “Sprint Planning”

ในคู่มือสกรัมปีก่อนๆ จะมีสองคำถามที่ถูกนำมาใช้ในSprint Planning ซึ่งคือ

- What can be delivered in the Increment resulting from the upcoming Sprint?
จะมีอะไรบ้างที่สามารถนำมาพัฒนาและทำสำเร็จในสปริ้นนี้

- How will the work needed to deliver the Increment be achieved?
งานที่เลือกมาทำนั้น จะทำด้วยวิธีไหน เพื่อให้ส่งงานได้สำเร็จ

ในคู่มือปี 2020 นั้น Scrum Guideมีการอัพเดตและเปลี่ยนคำถามที่ต้องใช้ในSprint Planning ซึ่งก็คือ 3 อย่างนี้

Topic 1:
Why is this Sprint valuable?
ทำไมสปริ้นนี้ถึงมีคุณค่าต่อProductที่เรากำลังทำ

Product Owner นั้นต้องชี้แจงคนในสกรัมทีม ว่าการทำสปริ้นที่กำลังวางแผนนี้เพิ่มมูลค่าต่อ product ยังไง เหตุผลที่ต้องมีคำถามนี้ ก็เพื่อให้ทุกคนในScrum Teamช่วยกันตั้งSprint Goalที่สื่อสารกับStakeholdersได้ ว่าทำไมงานในสปริ้นนี้ถึงมีคุณค่า ให้สามารถเข้าใจทีมว่าทำไมถึงเลือกนำของพวกนี้เข้ามาในsprint โดยfocusที่ผลประโยชน์ของความสำเร็จตัวproduct โดยทางคู่มือระบุชัดเจน ว่า Sprint Goalต้องถูกตั้งให้เสร็จ ในSprint Planning

Topic Two:
What can be Done this Sprint?
อะไรบ้างที่สามารถทำให้มันเสร็จภายในสปริ้นนี้ได้

คำถามนี้จะคล้ายๆของปี2017 คือหลังจากที่คุยหัวข้อแรกกันไปแล้ว Developers จะเริ่มเลือกงานใน product backlog เข้าsprint ซึ่ง ณ กระบวนการนี้ สกรัมทีมสามารถช่วยกัน refine รายละเอียดงานเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าเราเข้าใจrequirementและความซับซ้อนของงาน เคลียร์Definition of Done

Topic Three:
How will the chosen work get done?
งานที่เลือกมานั้นจะทำด้วยวิธีไหน

อีกคำถามที่คล้ายของปี 2017 คือถามว่าของแต่ละชิ้นที่เลือกมาจะมีวิธีทำยังไงให้สำเร็จตาม Definition of Done ในส่วนของตรงนี้ ผู้วางแผนจะเป็น Developersเท่านั้น ไม่ใช่คนอื่นๆ

Gentle Reminder: Sprint Planning มีกำหนดเวลา ว่าให้มีความยาวไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อสปริ้นที่มีความยาว 1 เดือน หากสปริ้นสั้นกว่านั้น ส่วนใหญ่เวลาในการทำsprint planningก็จะสั้นลงตามสัดส่วน

7. Scrum Master ไม่ใช่ Servant Leader แล้วนะ แต่เป็น True Leader Who Serves ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

ข้อนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานและหน้าที่ของScrum Master โดยในปี2017นั้น คำว่า accountibility(ความรับผิดชอบต่อสิ่งๆนึง) ถูกใช้แค่ครั้งเดียวในคู่มือ คือบอกว่าProduct Backlogเป็นความรับผิดชอบของProduct Owner แต่ในคู่มือปี 2020นี้ ได้มีความเพิ่ม accountability มากมาย โดยเฉพาะในส่วนของScrum Master แถมยังมีคำอธิบายความหมายของScrum Masterที่เปลี่ยนไปอีก ซึ่งก็คือ

The Scrum Master is accountable for establishing Scrum as defined in the Scrum Guide.
Scrum Masterมีความรับผิดชอบต่อการวางกระบวนการScrum ตามคู่มือสกรัม

หมายความว่า Scrum Masterมีหน้าที่อธิบายให้คนในทีมเข้าใจการใช้สกรัมอย่างชัดเจน ตามคู่มือ ข้อนี้อาจจะฟังดูเหมือนเป็นอะไรที่เบสิค แต่จริงๆแล้วสำคัญมาก เพราะหลายๆครั้งในชีวิตจริงเราอาจจะเจอการใช้งานสกรัมแบบผิดๆ เพราะคนใช้ไม่เข้าใจกระบวนการที่แท้จริง มีการดัดแปลง ทำให้ผลที่ได้ออกมาจากสกรัมแทนที่จะเป็นผลดี มันดันเป็นผลเสียและทำให้ผลงานออกมาช้าและแย่กว่าเดิม

The Scrum Master is accountable for the Scrum Team’s effectiveness.
Scrum Masterมีความรับผิดชอบต่อประสิทธิผลของทีมสกรัม

หมายความว่า การที่ทีมสกรัมมีประสิทธิผลออกมาไม่ดี มันคือความรับผิดชอบของScrum Masterที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาการทำงาน การเลือกใช้toolและpracticeในทีมสกรัม

Scrum Masters are true leaders who serve the Scrum Team and the larger organization.
Scrum Master คือผู้นำที่แท้จริง ที่รับใช้ทีมสกรัมและองค์กรใหญ่ๆ

ตอนแรกเรียกว่า Servant Leaderแต่ตอนนี้กลายเป็น True leader Who Serves แล้วความหมายมันต่างจากเดิมยังไง? จริงๆเรื่องการเล่นคำพวกนี้ ผู้พัฒนาคู่มือสกรัมใช้เพราะต้องการจะสื่อความหมายของScrum Masterถึงผู้ใช้งาน โดยในปี2017 คำว่าServant Leaderออกมาเพื่อให้คนเข้าใจว่าScrum Masterไม่ใช่มีหน้าที่สูงสุดและมีอำนาจเป็นหัวหน้าออกคำสั่ง แต่มันก็ยังเป็นคำที่กำกวม กลับทำให้หลายๆคนเข้าใจว่าScrum Masterเป็นคนที่มีหน้าที่รับใช้Scrum Teamซะงั้น

ซึ่งใน2020เค้าได้เปลี่ยนคำตรงนี้อีกครั้ง เป็น True leader Who Serves เพื่อต้องการจะสื่อว่าScrum Masterคือผู้นำ ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีนั้น ผู้นำต้องเป็นคนที่สามารถรับผิดชอบต่อคนอื่นได้ คือสามารถรับผิดชอบต่อการพัฒนาและการทำงานของคนในทีม โดยการส่งเสริมทางใดทางนึง ช่วยแก้ปัญหาด้วยเทคนิคที่มี แต่ไม่ใช่ใช้การออกคำสั่งให้คนทำตามใจชอบ เป็นผู้นำโดยการเข้าไปแทรกแซงให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น

สรุป

Scrum Guide 2020 ถูกอัพเดตเพื่อที่จะช่วยให้สกรัมสามารถใช้ได้กว้างขวางและมีความชัดเจนมากขึ้น การใช้งานนั้นไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแต่Software Projectsอย่างเดียว สามารถใช้กับงานไหนๆก็ได้ที่มีความเหมาะสมกับการถูกนำไปใช้ โดยให้ผู้ใช้คำนึงถึงว่า Scrum Teamคือการที่ทุกคนทำงานด้วยกันอย่างสามัคคี มีความโปร่งใส สามารถจัดการตัวเองได้ และสามารถทำงานได้ตามตกลง โดยมีproduct ownerเป็นผู้รับผิดชอบต่อProduct Goal มีDevelopersรับผิดชอบต่อวิธีการผลิตงานที่มีคุณภาพให้ออกมาตามGoal และมีScrum Masterช่วยซัพพอร์ตปัญหาการทำงานและเคลียร์ความเข้าใจในการทำงานในรูปแบบสกรัม ทั้งในระดีบทีมจนไปถึงในระดับบริษัทใหญ่

--

--

Bo Wanvisa Eamsiri

Always be eager to learn more

More from Bo Wanvisa Eamsiri